Blog

เส้นทางอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ – จบวิทย์คอมแล้วไปทำอะไรได้บ้าง

เส้นทางอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ – จบวิทย์คอมแล้วไปทำอะไรได้บ้าง

เส้นทางอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ – จบวิทย์คอมแล้วไปทำอะไรได้บ้าง

Student blog — 18/07/2025

เส้นทางอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ – จบวิทย์คอมแล้วไปทำอะไรได้บ้าง
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้าน อาชีพในสายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์จึง เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความต้องการสูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับนักศึกษาสาขาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ การเลือกเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ เส้นทางอาชีพในสายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงอาชีพใหม่ที่กำลังเป็นที่จับตามองเพื่อ ช่วย ให้น้องๆ นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้มีข้อมูลสนับสนุนในการ ตัดสินใจเลือกอนาคตของตนเอง รวมทั้งนักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์ปัจจุบันยังสามารถใช้ ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกฝนทักษะที่จำเป็น และวางแผนความก้าวหน้าในเส้น ทางอาชีพ ที่ต้องการได้อย่างมีเป้าหมายและยั่งยืน
1. เส้นทางอาชีพหลัก

เส้นทางอาชีพหลักในสายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์ยุคปัจจุบันสามารถจำแนกตามลักษณะของ งานและความรับผิดชอบในการพัฒนาส่วนของโปรแกรมหรือส่วนงานของแอปพลิเคชันได้ดังนี้

  • Frontend Developer
    Frontend Developer คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยใช้ภาษาโปรแกรม และเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ HTML CSS และ JavaScript รวมไปถึงเฟรมเวิร์ค (Software Framework) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างเช่น React Angular และ Bootstrap เป็นต้น งานของ Frontend Developer คือการสร้างประสบการณ์การใช้งาน User Experience และ User Interface – UX/UI ที่ราบรื่นและตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Backend Developer
    Backend Developer คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบในส่วนการดูแลโครงสร้างพื้นฐานของ ซอฟต์แวร์หรือก็คือ ส่วนการประมวลผลหลักที่ทำงานเบื้องหลังของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบน อุปกรณ์เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ส่วนการเชื่อมต่อและจัดการกับฐานข้อมูล การพัฒนาเว็บเซอร์วิส หรือ Web API (Application Programming Interface) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้โปรแกรม สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่าย และการประมวลผลข้อมูลต่างๆ บนเครื่องแม่ข่าย โดย ตัวอย่างของภาษาโปรแกรมและเทคโนโลยีหลักที่ใช้ ได้แก่ Java Node.js Python และ PHP เป็นต้น งานของ Backend Developer มีส่วนสำคัญทำให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ เคลื่อนที่ ทำงานและประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Full Stack Developer
    Full Stack Developer คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รับผิดชอบงานทั้งในส่วนของการพัฒนาส่วน ติดต่อกับผู้ใช้ (Frontend) และการพัฒนาส่วนการประมวลผลหลักเบื้องหลังของแอปพลิเคชัน (Backend) ด้วยเหตุนี้ ทำให้ Full Stack Developer มีความสามารถรอบด้าน ในการพัฒนา แอปพลิเคชันแบบครบวงจร ทั้งนี้ Full Stack Developer จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ Tech Stack หรือชุดของเทคโนโลยีทั้งหมดที่ใช้งานร่วมกันในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อที่จะ สามารถเลือกใช้ Tech Stack ได้ อย่างเหมาะสม ตรงต่อความต้องการ และทำให้ส่วนประกอบ ต่างๆ ของระบบซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
  • Mobile App Developer
    Mobile App Developer คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) อาทิเช่น แอปพลิเคชันที่ทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบ ปฏิบัติการ Android และ iOS ทั้งนี้ Mobile App Developer จำเป็นต้องมีความชำนาญ ในการใช้ภาษาโปรแกรมและเทคโนโลยี ได้แก่ Kotlin หรือ Java สำหรับ Android และ Swift สำหรับ iOS รวมไปถึงเครื่องมือหรือเฟรมเวิร์ค (Software Framework) ที่ช่วยอำนวยความ สะดวก ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น Flutter React Native และ Xamarin เป็นต้น
2. เส้นทางอาชีพใหม่ที่กำลังอยู่ในเทรนด์ที่น่าจับตามอง

สำหรับในส่วนของอาชีพใหม่ในสายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์ บทความนี้เลือก 2 อาชีพที่กำลัง เป็นที่จับตามอง ซึ่งอาชีพดังกล่าวตอบสนองต่อเทรนด์ของเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน

  • AI / Machine Learning Engineer
    AI / Machine Learning Engineer คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เน้นไปที่การสร้างส่วนของ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning Model) เพื่อนำมา ประยุกต์ใช้กับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การแนะนำคอนเทนต์ และ การรู้จำภาพ โดย AI / Machine Learning Engineer จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการ ใช้ภาษาโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น Python Java และ R รวมไปถึงการใช้งานเครื่องมือหรือเฟรมเวิร์ค (Software Framework) ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการสร้าง Machine Learning Model อาทิเช่น TensorFlow, PyTorch และ Scikit-learn เป็นต้น
  • DevOps Engineer
    DevOps Engineer ถือเป็นตำแหน่งที่มีส่วนสำคัญในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ เป็นผู้ที่ดูแล ให้ขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการพัฒนา การแปลงและรวมรหัสต้นฉบับ การทดสอบ รวมไปถึงการติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน เป็นไปได้ อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการพัฒนาสคริปต์เพื่อทำขั้นตอนดังกล่าว อย่างอัตโนมัติ (Continuous Integration and Continuous Deployment – CI/CD) ทั้งนี้ DevOps Engineer ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ อาทิเช่น Git Docker GitHub Action Kubernetes Jenkins และ Terraform เป็นต้น
3. ความก้าวหน้าในอาชีพ

เส้นทางการเติบโตในสายงานพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น Senior Developer, Tech Lead, Software Architect หรือแม้กระทั่ง CTO (Chief Technology Officer) โดยแต่ละตำแหน่งต้องการทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน สามารถอธิบายโดยย่อได้ดังนี้

  • Senior Developer: โดยทั่วไปต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3-5 ปีในการพัฒนาและ ออกแบบซอฟต์แวร์ ควรมีความเชี่ยวชาญในภาษาโปรแกรมเฉพาะทางและสามารถแก้ ปัญหาซับซ้อนได้
  • Tech Lead: หรือ Technical Leader นอกจากทักษะการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว Tech Lead จำเป็นต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการทีมพัฒนา และให้คำแนะนำด้านเทคนิค แก่สมาชิกในทีมอีกด้วย
  • Software Architect: จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบซอฟต์แวร์ ระดับองค์กร การวางสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง รวมถึงการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • CTO: ถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องมีความเข้าใจทั้งในเชิงเทคนิคและธุรกิจ หน้าที่หลัก คือ เป็นผู้กำหนดแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับ เป้าหมายขององค์กร รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนองค์กรให้ทันสมัย สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สรุป

อาชีพในสายงานการพัฒนาซอฟต์แวร์ มีเส้นทางที่หลากหลายและมีโอกาสเติบโตสูงไม่ว่าจะ เป็นสายงานดั้งเดิมอย่าง Frontend Backend และ Full Stack Developer ไปจนถึง สายงานที่กำลังมาแรงอย่าง AI / Machine Learning Engineer และ DevOps Engineer น้องๆ นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมถึงนักศึกษาปัจจุบันจำเป็นต้องกำหนด เป้าหมายและวางแผนอนาคตที่ชัดเจน ฝึกฝนทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพที่ต้องการล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกของการทำงาน ทั้งนี้หากมีการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้เพิ่ม เติมอยู่เสมอ รวมทั้งมีการติดตามเทรนด์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นได้ว่า การก้าวสู่ความสำเร็จในสายงานพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันอย่างแน่นอน

💚 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันดับ 1 💚

🎯 เข้าใจทฤษฎี ปฏิบัติได้ ประยุกต์เป็น และรู้ด้านธุรกิจ 🌟

📣 หลักสูตร วิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.หอการค้าไทย – Computer Science UTCC ปรับปรุงใหม่ล่าสุด มีทั้งกลุ่มรายวิชาที่ทันสมัย รวมถึงกิจกรรมเสริมหลักสูตรมากมาย ที่เป็นประโยชน์กับน้อง ๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคตที่เราได้เลือกเอง 🌟

#dek68 ที่สนใจในเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ชอบเรียนรู้ ชอบทดลอง ชอบแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และออกแบบอนาคตด้วยตัวเอง

** หลักสูตร “วิทยาการคอมพิวเตอร์” มี 4 กลุ่มรายวิชาเอกที่ทันสมัยให้เลือกเรียนตามความสนใจ
1. Cybersecurity
2. Data Analytics and Intelligent System Development (AI)
3. Software Development
4. Computer Science & Information Technology
พร้อมวิชาปรับพื้นฐานสำหรับน้อง ๆ ที่ไม่ได้จบสายวิทย์ เพื่อเตรียมความพร้อม **

++ จะแข่งขัน ส่งผลงานเข้าประกวด เรียนเสริมในหัวข้อที่กำลังมาแรง ทำงาน หรือเสริมแนวคิดทางธุรกิจ เพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์พร้อมช่วยเหลือ และดูแลอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ++

👇 ดูรายละเอียดของหลักสูตรได้ที่
https://science.utcc.ac.th/major_com/

++// สมัครเลย >> https://admissions.utcc.ac.th/ รับทุน Start-up และสิทธิพิเศษมากมาย //++

💚 มาเป็นครอบครัว Computer Science_ และสนุกไปด้วยกัน

#วิทยาการคอมพิวเตอร์ #ComSciUTCC #คอมพิวเตอร์ #มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย #หอการค้าไทย #หอการค้า #เด็กหัวการค้า #utcc #IgniteYourPassion #dreamscometrue #HappyUniversity #AIUniversity #AIUTCC #computerscience #cybersecurity #intelligentsystem #dataanalytics #computer #AI #fullstackdeveloper #devops #MLOps #DevSecOps #TCAS #เด็กซิ่ว #ทุนการศึกษา #dek69

แชร์บทความนี้

หลักสูตร